Blog

โปรตีน กินผิด ชีวิตเปลี่ยนจริงหรือ? กินโปรตีนมากไปเสี่ยงตับไตพัง

มีความเชื่อมากมายที่จะบอกคุณว่าการกินโปรตีนมากเกินไปนั้นไม่ดีสำหรับคุณ สร้างปัญหาสุขภาพต่อตับไตหรืออาจก่อโรคไปทั่วร่างกายของคุณ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง โรคกระดูก และโรคเรื้อรังอีกมากมาย แล้วเมื่อหมื่นปีบรรพบุรุษฮอร์โมเซเปี้ยนต้นตระกูลเราคงมีอัตราการป่วยตายจากโรคเรื้อรังรัง NCDs เหล่านี้จากการล่าเนื้อมาบริโภคเป็นอาหารหลักหรือไม่ หรืออาจมีอะไรที่อาจทำให้เราเข้าใจเกี่ยวกับสารอาหารหลักประเภทโปรตีนที่เป็นเครื่องมือวิวัฒนาการมันสมองของมนุษย์ที่กำลังจางหายไปตามกาลเวลา และมนุษย์ยังจำเป็นพึ่งพามันเพื่อความอยู่รอดและส่งต่อการดำรงชีวิตเหมือนมนุษย์รุ่นแรกจนมาถึงมนุษย์ในยุคปัจจุบันนี้ต่อไปหรือไม่ โปรตีน 1 ในสารอาหารหลักที่สำคัญต่อชีวิตคุณ อย่างไร โปรตีนเป็นสารอาหารที่เป็นองค์ประกอบหลักของทุกเซลล์ในร่างกาย ทำหน้าที่สำคัญหลากหลายในรูปแบบ โดยมีหน้าที่หลักๆ เช่น เป็นแหล่งพลังงานและสารอาหารหลักที่สำคัญ เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างสรีระทางร่างกาย ได้แก่ กล้ามเนื้อ กระดูก เนื้อเยื่อ เอ็น ผิวหนัง เส้นผม และเล็บ และส่วนประกอบที่สำคัญภายในร่างกาย ได้แก่ เอนไซม์ ฮอร์โมน ฮีโมโกลบิน เซลล์ภูมิคุ้มกัน สารที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด เป็นสารตั้งต้นวิตามิน ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโต ซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ หรือส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค และเอนไซม์ในตับหลายตัวที่เป็นโปรตีนสามารถทำลายสารพิษที่ปนเปื้อนมากับอาหาร เครื่อง หรือมลภาวะทางอากาศได้ เป็นตัวประสานหรือพาหนะนำพาสารอาหารจากผนังลำไส้เข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือด และนำส่งไปทั่วร่างกาย ควบคุมการทำงานของเซลล์ในร่างกาย เช่น เอนไซม์ที่ช่วยกระตุ้นและควบคุมปฏิกิริยาเคมีในระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายให้ทำงานตามปกติ และควบคุมสมดุลน้ำภายนอกและภายในเซลล์ โปรตีนธรรมชาติมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง การผลิตสารสื่อประสาทเซโรโทนิน ที่จะป้องกันการทำงานระบบสมองและประสานทำงานผิดเพี้ยน ที่จะลดความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า โรคจิตเภท อารมณ์แปรปรวน และอาการก้าวร้าวได้ ปริมาณโปรตีนที่แนะนำบริโภคสำหรับผู้ใหญ่ไทยทั้งชายและหญิง คือ 1...

Read more...

ภัยจากฝุ่นจิ๋ว 2.5 และมะเร็งปอด

ฝุ่นจิ๋ว PM2.5 คืออะไร ฝุ่นจิ๋ว PM2.5 (particulate matter, PM) ไม่ได้เป็นแค่ฝุ่นธรรมดา แต่คือฝุ่นขนาดเล็กมากที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 2.5 ไมโครเมตร (เส้นผมของคนเรามีหน้าตัด 50 ไม่โครเมตร แปลว่าฝุ่นจิ๋วนี้ต้องอยู่เรียงกัน 20 ตัวถึงจะมีขนาดเท่าหน้าตัดเส้นผมเรา 1 เส้น) นั่นคือมันเล็กมากๆ เล็กเกินกว่าที่เราจะมองเห็นมันด้วยตาเปล่าว่ามันเป็นผงฝุ่น เราจะเห็นอากาศเราคล้ายมีหมอกๆมัวๆ และมันก็เล็กมากพอที่จะไม่ถูกดักจับโดยกลไกการดักจับฝุ่นเบื้องต้นของร่างกายเราทั้งขนจมูก ทั้งเมือกที่อยู่ในระบบทางเดินหายใจของเรา ฝุ่นจิ๋วสามารถผ่านลงหลอดลมและปอดเราเข้าไปได้แบบสบายๆ และเล็กมากพอที่จะเข้าไปในหลอดเลือด และกระตุ้นในเกิดการอักเสบในที่ต่างๆ ทั้งระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยฝุ่นจิ๋วพวกนี้มันมักจะมีเพื่อนๆเกาะติดตัวมันมาด้วย ทั้งสารเคมีที่เป็นสารโลหะหนัก เช่น สารปรอท (Hg), แคดเมียม (Cd), อาร์เซนิก (As) ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกายเรา  PM2.5 เกิดจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม และการก่อสร้าง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของมลพิษทางอากาศในเมืองใหญ่ รวมถึงไฟป่า ความรุนแรงของ PM2.5 ในระยะเฉียบพลัน จะพบว่า การหายใจในอากาศที่มีระดับ PM2.5 ในขนาดสูงเกินมาตรฐาน นั่นคือ 35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะเริ่มพบการระคายเคืองทางทางเดินหายใจ แสบจมูก...

Read more...

เคล็ดลับการป้องกันโรคเรื้อรัง (NCDs) โรคที่เกิดจากพฤติกรรม

อะไรคือ 1 วิธีนั้น ที่คุณควรรู้ที่มีความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพโดยรวมของคุณ ปัญหาสุขภาพหรือโรคเรื้อรังแบบไม่ติดต่อหรือที่สามารถติดต่อได้นั้น สาเหตุสำคัญ คือ ร่างกายคุณมีความเสื่อมที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันโรคและระบบการความผิดปกติที่จะควบคุมการผลิตเซลล์ การทำงานของอวัยวะในระบบต่างๆ ที่กล่าวมานี้หากคุณมีอายุช่วง 50-60 ปีขึ้นไปก็น่าจะเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นไปตามกาลเวลา แต่ถ้าคุณมีอายุที่ต่ำกว่านี้แล้วพบว่าคุณเจอปัญหาสุขภาพเหล่านี้แล้ว ซึ่งก่อนที่มันจะลุกลามคุณอาจจะป้องกันหรือรักษาได้ทันท่วงที ซึ่งด่านแรกของความเสื่อมในร่างกายคุณ คือ “การกินอาหาร” ที่ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังเป็นประจำ เช่น อาหารที่ผ่านการปรุงแต่งหรือผ่านการแปรรูปหรือใช้การสังเคราะห์ทางเคมีสูง ผสมสารกันเสีย มีน้ำตาลสูง สารตกแต่งเพิ่มรสชาติหรือสีสันต่างๆ อาหารขยะหรือประเภท Junk Food เช่น แฮมเบอร์เกอร์ พิซซ่า เฟรนซ์ฟรายด์ นักเกต ฮ๊อตดอก พาย รวมถึงเนื้อสัตว์ทอดที่ใช้ไฟแรง เป็นต้น และอาหารประเภทธัญพืชขัดสี เช่น ข้าวขาว แป้งขาว เป็นต้น เป็นเรื่องยากถ้าคุณสังเกตเพื่อต้องการรับรู้ถึงความผิดปกติของความเสื่อมในเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกายคุณที่ค่อยๆ กลายเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) แต่นั่นก็ไม่ทำให้การเลือกกินอาหารดังที่กล่าวมาที่มีรสชาติอร่อย จากโฆษณาที่น่าสนใจ จากการที่ต้องกินเพื่อแข่งกับเวลาที่เร่งรีบ และนี่ทำไมการกินถึงเป็น 1 วิธีเริ่มต้นที่สำคัญต่อสุขภาพคุณที่คุณต้องเริ่มต้นทำได้เลยก่อนสายเกินไป และการกินนี้เองเป็นสาเหตุหลักที่จะส่งผลต่อการเกิด...

Read more...

โรคกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กอักเสบ

 โรคกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กอักเสบ (Gastroenteritis) คือ ภาวะการอักเสบของกระเพาะอาหาร และลำไส้ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย มีสาเหตุจากการที่ร่างกายได้รับเชื้อไวรัส เช่น โนโรไวรัส (Norovirus) โรต้าไวรัส (Rotavirus) เชื้อแบคทีเรีย เช่น อีโคไล (E. Coli) ซาลโมเนลลา (Salmonella) และชิเกลลา (Shigella) หรือปรสิต เช่น ไกอาเดีย (Giardia) และคริปโตสปอริเดีย (Cryptosporidia)โดยร่างกายได้รับเชื้อโรคผ่านการสัมผัส การรับประทานอาหาร ภาชนะที่มีการปนเปื้อน เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายมีกระบวนการขจัดเชื้อโรคออกจากกระเพาะอาหาร ลำไส้ จึงทำให้กิดอาการท้องเสีย ถ่ายเหลวร่วมกับมีอาการอื่น ๆ เช่น1.คลื่นไส้ อาเจียน2.เบื่ออาหาร3.เกร็งท้อง4.ปวดหัว5.ปวดกล้ามเนื้อ6.มีไข้ต่ำ7.อ่อนเพลีย โรคกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กอักเสบ (Gastroenteritis)เมื่อเกิดขึ้นแล้วอาการจะบรรเทาทุเลาหายไปได้เองภายใน 1 สัปดาห์ โดยมีวิธีการดูแลรักษาอาการ คือ 1.พักผ่อนอย่างเพียงพอ2.ดื่มน้ำสะอาด หรือเครื่องดื่มเกลือแร่ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะขาดน้ำ3.รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก...

Read more...

สัญญาณเตือน ภาวะไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia)

ภาวะไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia) ภาวะคอเลสเตอรอล (High Cholesterol หรือ High Blood Fat) ในเลือดสูง เป็น 1 ในโรค NCDs ที่ผู้คนทั่วโลกเป็นมากที่สุด และเป็นสาเหตุหลักของความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง (โรค CADs) ที่มี 3 กลุ่ม ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดส่วนปลาย เนื่องจากเกิดภาวะเส้นเลือดตีบตัน จึงไม่สามารถส่งสารอาหารและเกิดภาวะพร่องออกซิเจนต่อระบบการทำงานของหัวใจและสมอง ที่ส่งผลต่อการเกิดอาการหัวใจวาย หรือหลอดเลือดสมองแตกได้ สัญญาณเตือน จะรู้ได้อย่างไรว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง ในช่วงแรกจะไม่แสดงอาการ (เว้นแต่ว่ามีการตรวจสุขภาพเป็นประจำ) แต่เมื่อเกิดการสะสมของคราบพลัคในหลอดเลือดในระยะเวลาหนึ่ง (การสะสมของคราบพลัคจะส่งผลต่ออาการกำเกิบรุนแรงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสุขภาพส่วนบุคคล) จะส่งผลต่อการสร้างภาวะหลอดตีบตันหรือหยุดการไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจหรือสมอง ที่จะแสดงลักษณะทั่วไป ได้แก่ การแสดงอาการเด่นๆ จากภาวะโรคไตร์กลีเซอร์ไรด์สูง เช่น ลักษณะผื่นตุ่มไขมันคล้ายขนลุกตามลำตัว แขน ต้นขา สะโพก ที่มีสีเหลืองอมส้ม หรือผื่น หรือรอยนูนตามลายฝ่ามือ ตุ่มนูนนุ่มไม่เจ็บจะพบที่ข้อผับ ศอก เข่า รอบตาดำมีแถบสีเทาหรือขาวล้อมรอบ และรอบหนังตามีผื่นนูนหรือผื่นไขมัน เจ็บหน้าอก...

Read more...

หยิน-หยาง

หากพูดถึงการแพทย์แผนจีน หลายคนนอกจากจะนึกถึงการฝังเข็มแล้ว ยังอาจจะนึกถึงสัญลักษณ์หยิน-หยาง หรือสัญลักษณ์รูปร่างกลมที่มีสีขาวและสีดำนั้นเอง ความหมายและความสำคัญของหยิน-หยาง หยินและหยาง (阴阳Yin-Yang) เป็นแนวคิดปรัชญาของชาวจีนที่มีมาแต่โบราณกาล ได้จากการสังเกตและค้นพบลักษณะที่สำคัญของธรรมชาติ ว่าสิ่งต่าง ๆ ประกอบด้วย 2 ด้าน ซึ่งขัดแย้งกัน ต่อสู้กัน พึ่งพากัน แยกจากกันไม่ได้  โดย สีดำแทนหยิน สีขาวแทนหยาง มีการกล่าวถึง หยิน-หยาง เป็นครั้งแรก ซึ่งถูกบันทึกในคัมภีร์อี้จิง《易经》ในสมัยโบราณหยินและหยาง จึงถูกนำมาใช้ในวิชาการ เช่น การพยากรณ์อากาศ ภูมิศาสตร์-ฮวงจุ้ย ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ และหมายรวมถึงการแพทย์แผนจีนด้วย บทความนี้จะกล่าวถึงหนึ่งในการดูแลสุขภาพตามหลักการแพทย์แผนจีน นั้นคือการรับประทานอาหาร หรืออาหารเป็นยาได้อย่างไร ก่อนอื่นเราต้องเช็คร่างกายเราก่อนว่ามีลักษณะเป็นไปในทางหยิน หรือ หยาง ?จากนั้นเราก็จะสามารถเลือกอาหารหยินหรืออาหารหยางได้ว่าเราควรทานอาหารลักษณะแบบไหน ลักษณะร่างกายหยิน พูดเสียงเบา ตกใจง่าย ค่อนข้างเก็บตัว หายใจเบา ชีพจรเต้นช้า หน้าซีดขาว ขี้หนาว แขนฝ่ามือ ฝ่าเท้าและขาเย็น กินอาหารได้น้อยไม่ค่อยเจริญอาหาร ท้องอืดง่ายหรือระบบย่อยไม่ค่อยดี ไม่ค่อยกระหายน้ำ เป็นต้น อาหารหยินคือ อาหารที่กินแล้วให้ความรู้สึกเย็น มีรสชาติขม เปรี้ยว และเค็ม รวมไปถึงอาหารที่ผ่านการปรุงรสด้วยวิธีต้ม นึ่ง ตุ๋น เป็นต้น...

Read more...

สายตาเด็กผิดปกติจากการเรียนออนไลน์ อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

แม้การได้ใช้ชีวิตอยู่ในโลกยุคดิจิทัลที่การเรียนรู้เปิดกว้าง เข้าถึงข้อมูลทุกอย่างได้ง่ายๆ ผ่านมือถือและแท็บเล็ต แต่ในอีกฝากหนึ่งก็แฝงไว้ด้วยความเสี่ยงอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อ “ดวงตาของเด็กๆ” ที่ยังอยู่ในช่วงของการเจริญเติบโตตามพัฒนาการ และยิ่งในช่วงสถานการณ์โรคระบาดที่ต้องเรียนออนไลน์ทุกวันด้วยนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงมีส่วนสำคัญอย่างมากในการช่วยสอดส่องดูแล ไม่ให้ดวงตาของลูกน้อยได้รับผลกระทบจากการอยู่กับหน้าจอจนเกิดภาวะผิดปกติ ลูกน้อยเรียนออนไลน์นาน ๆ ดวงตาเสี่ยงอันตรายอะไรบ้าง? ทราบหรือไม่ว่า Electronics Time หรือ ช่วงเวลาในการอยู่กับสื่อออนไลน์ ใช้สายตาจ้องดูสื่อออนไลน์ต่างๆ ที่เหมาะสมสำหรับเด็กตามคำแนะนำของแพทย์นั้น คือ ไม่ควรนานเกิน 2 ชั่วโมง ซึ่งในทางปฏิบัติตามความเป็นจริงแล้วไม่สามารถทำได้เลย เพราะลำพังเพียงแค่ต้องนั่งเรียนออนไลน์ ก็ใช้เวลาตั้งแต่เช้าจนถึงเย็นแล้ว ยังไม่นับช่วงเวลาที่เด็กๆ ต้องทำการบ้าน หรือหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตอีก ซึ่งการใช้สายตาของเด็กๆ กับหน้าจออิเล็กทรอนิกส์ที่นานเกินไปนั้น อาจส่งผลให้เสี่ยงอันตราย ดังต่อไปนี้ ปวดตา ดวงตาเมื่อยล้า ตาแห้ง คันตา ในเด็กที่เป็นภูมิแพ้ที่ตาอาจเสี่ยงมีอาการรุนแรงมากขึ้น เกิดภาวะสายตาสั้นผิดปกติ มองเห็นได้ไม่ชัด อาจทำให้เกิดอาการตาเข ตาเหล่ เนื่องจากใช้สายตามากเกินไปจนกล้ามเนื้อตาผิดปกติ ส่งผลทำให้พัฒนาการผิดปกติ เด็กอาจสื่อสารกับผู้อื่นลำบากขึ้น เนื่องจากสมาธิสั้น หรือพูดช้า เป็นต้น อาการอย่างไร ต้องสงสัยว่าสายตาลูกผิดปกติ? สิ่งสำคัญในการดูแลสายตาของเด็กๆ ไม่ให้ได้รับผลกระทบจนเกิดภาวะผิดปกติจากการเรียนออนไลน์ นั่งหน้าจอหรือจ้องมือถือนานๆ คือ คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองต้องหมั่นสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด โดยหากพบอาการผิดปกติ ดังต่อไปนี้ ควรรีบพามาปรึกษาแพทย์โดยทันที เล่นมือถือหรือนั่งเรียนออนไลน์หน้าจอสักพักแล้วจะกระพริบตาถี่ๆ ขยิบตา ยิบตาบ่อยๆ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากดวงตาแห้ง เหมือนเวลาผิวคนเราแห้งก็จะเกิดอาการคัน...

Read more...

ภาวะนอนไม่หลับ (Insomnia)

ภาวะนอนไม่หลับ คืออะไร ภาวะนอนไม่หลับ เป็นภาวะที่พบได้บ่อยของปัญหาการนอนหลับ โดยคนที่มีภาวะนี้จะมีปัญหานอนไม่หลับ หรือใช้เวลานานกว่าจะนอนหลับตั้งแต่ต้นของการเข้านอน หรือในคนที่สามารถนอนหลับได้ตั้งแต่ต้น แต่ต้องตื่นมากลางดึกและไม่สามารถนอนต่อได้ ซึ่งคนที่มีภาวะนี้จะมีอาการใดอาการหนึ่ง หรือทั้งสองอาการร่วมกัน ได้แก่ เข้านอนแล้ว นอนไม่หลับ หรือใช้เวลานานกว่าจะสามารถหลับได้ สามารถนอนหลับได้เมื่อเข้านอน แต่ต้องตื่นมากลางดึกและไม่สามารถนอนต่อได้ ภาวะนอนไม่หลับมีสาเหตุจากอะไรบ้าง แบ่งเป็นสาเหตุหลักๆได้ 2 สาเหตุ สาเหตุทางด้านจิตใจ และโรคทางจิตเวช หรือความเครียดวิตกกังวล สาเหตุจากความผิดปกติทางด้านร่างกาย ตัวอย่างที่พบได้บ่อย เช่น – โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น – การกระตุกของขาหรือแขนในระหว่างหลับจนเกิดการรบกวนการนอน – อาการปวดตามร่างกาย เช่น ปวดตามข้อ, ปวดกล้ามเนื้อ ภาวะใดบ้างที่ทำให้นอนไม่หลับ มีหลายภาวะที่ส่งเสริมทำให้นอนไม่หลับ การนอนไม่หลับจากสารกระตุ้นบางชนิด เช่น ชา กาแฟ ภาวะที่ระดับ เมลาโทนิน (melatonin) ลดลง โดยสารเมลาโทนินนี้จะหลั่งเพื่อกระตุ้นให้เกิดการนอนหลับ ซึ่งพบว่าอายุที่มากขึ้นจะทำให้การหลั่งของสารชนิดนี้ลดลง การได้รับแสงกระตุ้น เช่นการรับแสงในช่วงเย็น หรือแสงจากโทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือที่เปิดใช้ช่วงก่อนการเข้านอน การเข้านอนและตื่นนอนไม่เป็นเวลา การออกกำลังกายใกล้เวลาเข้านอน สิ่งแวดล้อมในห้องนอนไม่เหมาะสม เช่นสว่างเกินไป ร้อนหรือหนาวเกินไป เมื่อไหร่ควรจะปรึกษาแพทย์ ปกติภาวะนอนไม่หลับนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในคนทั่วไป เช่น มีความเครียดวิตกกังวล การเปลี่ยนที่นอน หรือเปลี่ยนเวลา นอน ซึ่งภาวะนอนไม่หลับมักเป็นชั่วคราวเป็นวันหรือเป็นสัปดาห์โดยสามารถหายเองได้เมื่อสิ่งกระตุ้นเหล่านี้หมดไป ดังนั้นในคนที่มีภาวะนอนไม่หลับ หรือนอนหลับยากควรจะปรึกษาแพทย์ทางด้านการนอนหลับ เมื่อมีปัญหาในการนอนไม่หลับอย่างต่อเนื่องกันเป็นเดือน โดยที่ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เกี่ยวกับสุขอนามัยการนอนหลับที่ดีแล้ว อย่างไรก็ตามหากปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างรีบด่วน เช่น มีอาการง่วงผิดปกติในระหว่างวันจนทำให้งีบหลับหรือหลับในในขณะขับรถก็ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที อยากหุ่นสวย...

Read more...

โพรไบโอติกส์ (Probiotics) จุลินทรีย์นักรบช่วยปกป้องร่างกาย

ในร่างกายของคนเรานั้นมีจุลินทรีย์หลากหลายชนิดอาศัยอยู่ อันได้แก่ เชื้อรา ไวรัส แบคทีเรีย และโพรโตซัวอาศัยอยู่ โดยจะมีชนิดหนึ่งที่รู้จักกันในชื่อว่า โพรไบโอติกส์ (Probiotics) โพรไบโอติกส์ ในร่างกายของคนเรานั้นมีจุลินทรีย์หลากหลายชนิดอาศัยอยู่ อันได้แก่ เชื้อรา ไวรัส แบคทีเรีย และโพรโตซัวอาศัยอยู่ โดยจะมีชนิดหนึ่งที่รู้จักกันในชื่อว่า โพรไบโอติกส์ (Probiotics) ซึ่งมีลักษณะโดดเด่น ดังนี้ รอดชีวิตจากการถูกย่อยด้วยน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและเดินทางไปถึงลำไส้ได้ มีประโยชน์ต่อสุขภาพ รับประทานได้ปลอดภัย โพรไบโอติกส์เป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่มีประโยชน์ ช่วยกำจัดแบคทีเรียที่ไม่ดีที่มีมากเกินไป สร้างความสมดุลให้กับร่างกาย ชนิดของโพรไบโอติกส์ ในร่างกายของเรามีโพรไบโอติกส์อยู่หลายชนิด แต่ชนิดที่พบได้บ่อยได้แก่ Lactobacillus และBifidobacterium ซึ่งรวมไปถึง Saccharomyces boulardii ซึ่งเป็นโพรไบโอติกส์เชื้อราเซลล์เดี่ยวโดยปกติแล้วโพรไบโอติกส์ที่เป็นประโยชน์นั้นสามารถพบได้ในลำไส้ โดยเฉพาะลำไส้ใหญ่ ปาก ผิวหนัง ปอด ช่องคลอด และระบบทางเดินปัสสาวะ ประโยชน์ของโพรไบโอติกส์ ต่อสู้กับแบคทีเรียตัวร้ายที่รุกรานเข้ามา  เสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเพื่อลดการอักเสบ  ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น สร้างวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย ป้องกันไม่ให้แบคทีเรียที่ไม่ดีต่อร่างกายเติบโตมากจนเกินไป เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับเซลล์บุผนังที่ช่วยป้องกันไม่ให้แบคทีเรียที่ไม่ดีเข้าสู่กระแสเลือด ช่วยร่างกายในการเผาผลาญและดูดซึมอาหารและยา อาหารที่มีโพรไบโอติกส์ การรับประทานอาหารเสริมโพรไบโอติกส์นั้นไม่จำเป็น เนื่องจากการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบห้าหมู่ มีกากใยสูงก็เพียงพอต่อการสร้างความสมดุลของจำนวนแบคทีเรียในร่างกาย หากต้องการเพิ่มจำนวนโพรไบโอติกส์ในร่างกาย เราสามารถรับประทานอาหาร เช่น โยเกิร์ต บัตเตอร์มิลค์ ขนมปังซาวโดว์ คอทเทจชีส ชาหมัก (kombucha) นมหมัก (kefir) เทมเป้ (tempeh) ผักดอง กิมจิ และซุปมิโซะ...

Read more...

เครียดสะสม เครียดไม่รู้ตัว อาการแบบไหนบ่งชี้ ควรดูแลตัวเองอย่างไรดี ?

เช็คอาการเครียด แบบไหนต้องรีบรักษา รู้แนวทางป้องกัน และวิธีรักษาที่ถูกต้อง และหากมีอาการควรดูแลตนเองอย่างไร ที่นี่มีคำตอบ เช็คอาการเครียด พร้อมรู้แนวทางป้องกัน ก่อนเสียสุขภาพ ปัจจุบันนี้ คนส่วนมากดำเนินชีวิตภายใต้ความกดดัน ทำให้เกิดอาการเครียดสะสมโดยไม่รู้ตัว ซึ่งจะ  นำไปสู่ความเจ็บป่วยทางจิตเวช หรือปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ ได้ เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล  เพื่อป้องกัน และลดความเสี่ยงจากการมีความเครียดสะสม มาตรวจสอบกันว่า เรามีสัญญาณที่บ่งชี้ว่าเกิดอาการเครียดสะสมหรือไม่ จากบทความนี้ เช็ค 7 สัญญาณของอาการเครียดไม่รู้ตัว ความเครียด สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะในแต่ละวันทุกคนต้องใช้ชีวิตที่เต็มไปด้วยความกดดัน แต่เมื่อใดที่ความกดดัน และความตึงเครียดนั้นไม่สามารถถูกจัดการได้ จะกลายเป็น ความเครียดสะสมที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ ให้สงสัยว่าตนเองอาจมีความเครียดสะสมที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว รูปแบบการนอนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น นอนไม่หลับ นอนไม่อิ่มหลับไม่สนิท ตื่นเร็วเกินไป หรือ ตื่นกลางดึก และหลับต่อได้ยาก อารมณ์เปลี่ยนไป เช่น นิ่งเงียบ ไม่พูด เบื่อหน่ายชีวิต รู้สึกกังวล หรือหงุดหงิดง่าย รวมไปถึงอารมณ์ทางเพศลดลง ร่ายกายผิดปกติ เช่น เหนื่อยง่าย...

Read more...